Untitled Document config
Free Web Hosting
สำนักงานฌาปนสถาน
ระเบียบของฌาปนสถาน
สำนักงาน
             ๑. สำนักงานตั้งอยู่ภายในวัดพรหมวงศาราม  แขวงดินแดง  เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
             ๒. เจ้าหน้าที่สำนักงานต้องเป็นพระภิกษุระดับพระสังฆาธิการภายในวัด  โดยได้รับอนุมัติจากเจ้าอาวาส
             ๓. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกอบด้วยหัวหน้า  ๑  รูป  ผู้ช่วยไม่ต่ำกว่า ๑ รูป ไม่เกิน ๓ รูป และต้องได้รับอนุมัติจากเจ้าอาวาส
             ๔. พนักงานฌาปนสถาน คือ ผู้ทำหน้าที่ประจำศาลาบำเพ็ญกุศลโดยได้รับการรับรองจากพระเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน
เจ้าหน้าที่สำนักงานคลังพัสดุ
             ๑. พระครูศรีรัตนาภรณ์ รองเจ้าอาวาสวัดพรหมวงศาราม
             ๒. พระมหาชูศักดิ์  ฌาณิรฺสโร (ใหม่คำ)
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานฌาปนสถาน
             ๑. ควบคุมดูแลกิจการของสำนักงานฌาปนสถานให้เป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย
             ๒. ควบคุมดูแลพนักงานฌาปนสถาน
             ๓. รับติดต่อ  ประสานงานกับเจ้าภาพที่มาติดต่อใช้สถานที่  ให้ข้อมูลและระเบียบของฌาปนสถานแก่เจ้าภาพ
             ๔. เก็บเอกสารต่าง ๆ ของฌาปนสถานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
             ๕. จัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายแต่ละเดือนแล้วส่งเจ้าอาวาสเพื่อตรวจสอบและรับรอง
             ๖. จัดทำบัญชีรายรับ  - รายจ่าย  ประจำปีของฌาปนสถานเสนอเจ้าอาวาสเพื่อตรวจสอบและรับรอง
             ๗. จัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ประจำปีที่เจ้าอาวาสเซ็นต์รับรองแล้วเสนอคณะกรรมการของวัดเพื่อตรวจสอบ
                  และรับรองในวันประชุมคณะกรรมการวัดประจำปี
นโยบายของสำนักงานฌาปนสถาน
             ประหยัด  ถูกต้อง  คล่องตัว  ชัวร์สะอาด  ปราศจากนายหน้า
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้นำศพมาบำเพ็ญกุศล
             ๑. เจ้าภาพต้องขอระเบียบจากเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานโดยตรง
             ๒. เมื่อรับระเบียบแล้วต้องศึกษารายละเอียด  หากมีข้อสงสัยต้องสอบถามให้เข้าใจ
             ๓. ไม่ควรให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าภาพมาติดต่อ  หากมีความจำเป็นเจ้าภาพมาถึงแล้วต้องรีบติดต่อเจ้าหน้าที่    โดยเร็ว
             ๔. ถ้าเจ้าภาพต้องการใช้บริการสิ่งของต่าง ๆ จากทางวัด (ตามรายการที่ได้รับ) ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ
             ๕. ศาลาบำเพ็ญกุศลจะต้องจัดตามลำดับที่ทางเจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ (เจ้าภาพไม่มีสิทธิ์เลือก)
             ๖. การกำหนดงาน ( สวดพระอภิธรรม - ทำบุญเลี้ยงพระ - เทศน์ - บวชหน้าไฟ - เวลาฌาปนกิจ การเก็บอัฐิ )ให้เจ้าภาพ
                 ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง
             ๗. กรณีบวชเณรหน้าไฟ  งานหนึ่งบวชได้ไม่เกิน ๕ คน  และต้องนำผู้ที่จะบวชไปพบและฝึกซ้อมกับพระเจ้าหน้าที่
                  ฌาปนสถานก่อนและหลังเสร็จพิธีฌาปนกิจแล้วต้องสึกทันที
             ๘. อาหาร  เจ้าภาพต้องจัดหาเอง  ถ้าต้องการใช้บริการจากทางวัดให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำศาลาและตกลงราคากันเอง
                  ทางวัดจะไม่รับผิดชอบเรื่องอาหารในทุกกรณี
             ๙. อุปกรณ์ของใช้ต่าง ๆ ทางวัดมีบริการฟรี  ยกเว้นกรณีเจ้าภาพสั่งพิเศษต้องเสียค่าใช้จ่ายตามที่   กำหนด 
             ๑๐. เจ้าภาพที่นำเครื่องขยายเสียงมาใช้  ควรคำนึงถึงงานอื่นด้วย  เพราะจะเป็นการรบกวนงานอื่นโดยไม่จำเป็น
             ๑๑. เจ้าหน้าที่ปิดศาลา  เวลา ๒๑.๐๐  น.
             ๑๒. ห้ามเจ้าภาพเฝ้าศพ ( หากมีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัด  มีความจำเป็นต้องขออนุญาตเป็นกรณี พิเศษ )
             ๑๓. แต่ละศาลามีเจ้าหน้าที่ประจำศาลา  ๒ คน มีหน้าที่คอยบริการแนะนำให้กับเจ้าภาพ
             ๑๔. ห้ามดื่มสุรา - ห้ามเล่นการพนัน - งดการโปรยทาน
             ๑๕. ถ้าต้องการสงเคราะห์ค่าใช้จ่ายจากทางวัด  เจ้าภาพต้องทำพิธีสวดพระอภิธรรมไม่เกิน ๑ คืน (ถ้าเกิน ๑ คืน
                    จะไม่มีสิทธิ์รับการสงเคราะห์ )
             ๑๖. การชำระเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เจ้าภาพต้องชำระกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานฌาปนสถานโดยตรงเท่านั้น  ก่อนชำระ
                   ค่าใช้จ่ายหากมีข้อสงสัยรายการค่าใช้จ่ายให้สอบถามเจ้าหน้าที่ก่อน  และต้องมีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานทุกครั้ง
รายการค่าใช้จ่ายแต่ละวันในการตั้งศพพระอภิธรรม
ของสำนักงานฌาปนสถานวัดพรหมวงศาราม   แขวงดินแดง  เขตดินแดง  กรุงเทพมหานคร
โทร. (๐๒) ๒๗๖-๔๔๐๓

ที่

รายการ

หมายเหตุ

บำรุงศาลาและพนักงาน คืนละ ๖๐๐ บาท ศาลาคู่ ๑,๒๐๐ บาท

๑. พนักงานปิดศาลาเวลา ๒๑.๐๐ น.
๒.ไม่อนุญาตให้เฝ้าศพ
๓. ห้ามดื่มสุรา  ห้ามเล่นการพนัน
๔.งดการโปรยทาน
๕. การชำระใช้จ่ายเจ้าภาพต้อง
ชำระเองที่สำนักงาน  โดยมี
ใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง

ค่าบำรุงของใช้  คืนละ  ๑๐๐  บาท

หีบศพ ๑,๙๐๐ - ๔,๑๐๐ - ๔,๖๐๐ - ๕,๐๐๐ -๕,๘๐๐-๙,๘๐๐ (ตามสั่ง)

รถรับศพและพนักงานรับศพ ๑,๐๐๐ บาท ต่างจังหวัดตามแต่จะตกลง

ดอกไม้ประดับศพ ๑,๕๐๐- ๑,๘๐๐ - ๓,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ (ตามสั่ง)

พวงหรีด ๕๐๐ -๘๐๐ -๑,๐๐๐ (ตามสั่ง) 

แก๊สหุงต้ม  เวลาละ ๘๐ บาท

น้ำแข็งยูนิต  โลละ  ๕ บาท

คำเตือน

เครื่องดื่มขนาดลิตร  ลังละ  ๒๒๐  บาท

เจ้าภาพต้องระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่าย  อย่าให้เกินความพอดีของตัวเอง  มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาภายหลัง

๑๐

น้ำดื่มโพลาลิส  ถังละ  ๑๕ บาท

๑๑

น้ำดื่มชนิดถ้วยบรรจุ  ๔๘  ถ้วย  กล่องละ  ๑๒๐ บาท

๑๒

ดอกไม้จันทน์  ถุงละ ๑๕๐ บาท ช่อสำหรับประธาน ช่อละ ๒๐ บาท

เรียกบริการ    

๑๓

ไทยทาน ชุดละ ๑๐๐ - ๒๕๐  บาท (ตามสั่ง)

สอบถามที่พนักงานประจำ
ศาลา  ขัดข้อง ติตต่อเจ้าหน้าที่ ฌาปนสถานโดยตรง

 

๑๔

ผ้าไตรบังสกุล  ไตรละ  ๑๕๐  บาท

๑๕

ผ้าสกุลสบง  ผืนละ  ๔๐  บาท

๑๖

ชุดนาคสำหรับบวชเณร  ชุดละ  ๓๐  บาท

๑๗

ผ้าบวชเณร  ไตรละ  ๑๐๐  บาท

๑๘

เตาเผาศพ และพนักงาน  ๓,๐๐๐ บาท

๑๙

ค่าทำความสะอาดหลังเสร็จงาน  แต่ละงาน ๓๐๐ บาท

๒๐

ค่าไฟฟ้า-น้ำประปา คืนละ ๑๐๐ บาท

๒๑

วันสุดท้าย  คิดค่าบริการเท่ากับ ๑ คืน

การแจ้งตาย
              บ้านใดมีคนตายก็อย่ามัวแต่ร้องห่มร้องให้จนลืมความสำคัญของการ “ แจ้งตาย”  เสียละ  เพราะถ้าไม่ไปแจ้งตายตาม
กฎหมายแล้วคน ๆ นั้นก็ยังมีสภาพเหมือนมีชีวิตอยู่  สิทธิ์ต่าง ๆ ของเขาก็ใช้ได้อยู่ตามกฎหมาย  ทีนี้ก็อาจมีผู้ไม่หวังดีทำการ
“ สวมสิทธิ์”  หรือพูดง่าย ๆ ก็ คือเอาสิทธิ์ของผู้ตายนั้นไม่อ้างในทางมิดีมิร้าย  เพราะถ้าไม่มี “ มรณบัตร” ที่แสดงว่าคนนั้นตายแล้ว
ตามกฎหมาย  ปัญหาเช่นนี้อาจดูแล้วไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้นมาแล้ว  และการแจ้งตายก็ไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่ถ้าไม่
แจ้งตายภายในกำหนดมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายตามกฎหมายแบ่งออกเป็น ๓ กรณี คือ
             ๑. กรณีมีคนตายในบ้าน  เจ้าบ้าน หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน  หรือผู้พบเห็น จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ และแจ้งตายต่อ
                 นายทะเบียนภายใน  ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ตาย  หรือเวลาที่พบศพ
             ๒. กรณีคนตายนอกบ้าน  บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ  ต้องแจ้งตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง
                  นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
             ๓. กรณีคนตายยังอยู่ต่างประเทศ  ผู้รู้เหตุการณ์การตาย  ต้องไปแจ้งยังกงสุล หรือสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ
วิธีการแจ้งตาย ผู้ที่ไปแจ้งตายจะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตาย  ดังต่อไปนี้
             ๑. ชื่อ  นามสกุล  อายุ สัญชาติ เพศ  ของผู้ตาย  ตลอดจนชื่อ  นามสกุล  และสัญชาติของมารดาบิดา  ผู้ตาย
             ๒. เวลาที่ตาย  ระบุ  เดือนปี  เวลาโดยละเอียด
             ๓. ที่อยู่ของผู้ตาย  และสถานที่ตาย
             ๔. สาเหตุการตาย
             ๕. การดำเนินงานเกี่ยวกับศพของผู้ตาย  (เก็บ  ฝัง  เผา ) ที่ไหน เมื่อไร ซึ่งกฏหมายห้ามไม่ให้ผู้ใด เก็บ ฝัง เผา ย้ายศพ
                 ไปจากสถานที่หรือบ้านที่ตายก่อนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจะต้องดำเนินการยังสถานที่
                  ที่ระบุในใบอนุญาตเท่านั้น  หากจะเปลี่ยนแปลงต้องขออนุญาตใหม่
รายละเอียดเหล่านี้ต้องบอกให้ครบถ้วน  จะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงต่อนายทะเบียน
             ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน    ฉบับเจ้าบ้าน (กรณีคนตายในท้องที่)
             ๒. บัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือบัตรประจำตัวอื่น ๆของผู้ตาย (ถ้ามี)
             ๓. หนังสือรับรองการตาย (ท.ร.๔/๑) ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลออกให้ (ถ้ามี) หรือกรณีมีพนักงานสอบสวนทำการชันสูตรศพ
                   อาจนำสำเนาบันทึกผลการชันสูตรศพ  แสดงต่อนายทะเบียนด้วยก็ได้  หนังสือรับแจ้งการตาย (ท.ร. ๔ ตอนหน้า)
                   ซึ่งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านออกให้ กรณีคนตายในหมู่บ้าน ตำบล
                   หากไม่สามารถแจ้งตายในระยะเวลาที่กำหนด  ผู้มีหน้าที่แจ้งตายจะต้องไปยื่นคำร้องขอกแจ้งตาย  พร้อมกับนำหลักฐาน
เช่นเดียวกับการแจ้งตายในกำหนด  ไปแสดงต่อหน้านายทะเบียนผู้รับแจ้ง  อีกทั้งต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้พบศพ  และพยานรู้เห็น 
อย่างน้อย  ๒ คน ไปให้สอบสวนสาเหตุที่ไม่แจ้งตายภายในกำหนด และต้องไม่ลืมที่จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการตายนั้น ๆ ด้วย
การจำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน
                   ต้องนำใบมรณบัตรไปขอแก้ไขตามภูมิลำเนาที่ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น
 
Copy Rigth by Promwongsaram Temple.